เมนู

และเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันไม่เสมอ มีกายทุจริตเป็นต้น กุลบุตรผู้รักตนพึง
เว้นสหายลามกนั้น ผู้ชี้บอกความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ผู้ดังอยู่ในธรรม
ไม่เสมอ ไม่ควรเสพด้วยตนเอ ง คือด้วยอำนาจของตน ด้วยประการฉะนี้.
ท่านกล่าวว่า ก็ผิว่าเป็นอำนาจของผู้อื่น สามารถจะทำอย่างไร.
บทว่า ปสุตํ ขวนขวาย อธิบายว่า ติดอยู่ในบาปธรรมนั้น ๆ ด้วยอำนาจ
แห่งทิฏฐิ. บทว่า ปมตฺตํ คนประมาท คือผู้ปล่อยจิตไปแล้วในกามคุณ
หรือเว้นจากกุศลภาวนา. บุคคลไม่พึงเสพ คือไม่พึงคบ ได้แก่ไม่พึง
เข้าใกล้บุคคลเห็นปานนั้น โดยที่แท้พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศ ดังต่อไปนี้ บทว่า สยํ น เสเวยฺย
คือ ไม่พึงเข้าไปหาด้วยตนเอง. บทว่า สามํ น เสเวยฺย คือ ไม่พึง
เข้าไปใกล้แม้ด้วยใจ บทว่า น เสเวยฺย คือ ไม่พึงคบ. บทว่า
นิเสเวยฺย
ไม่ควรอาศัยเสพ คือไม่เข้าไปแม้ในที่ใกล้. บทว่า
สํเสเวยฺย
ไม่ควรร่วมเสพ คือพึงอยู่ให้ไกล. น ปฏิเสเวยฺย ไม่ควร
ซ่องเสพ คือหลีกไปเสีย.
จบคาภาที่ 3

คาถาที่ 4


24) พหุสฺสตํ ธมฺมธรํ ภเชถ
มิตฺติ อุฬารํ ปฏิภาณวนฺติ
อญฺญาย อตฺถานิ วิเนยฺย กงฺขํ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า พึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ผู้
ทรงธรรม ผู้ยิ่งด้วยคุณธรรม มีปฏิภาณ ผู้รู้จักประโยชน์
ทั้งหลาย กำจัดความสงสัยได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.

ในคาถาที่ 4 มีความย่อดังนี้.
บทว่า พหุสฺสุตํ คือ ผู้เป็นพหูสูตมี 2 พวก คือผู้เป็นพหูสูตใน
ปริยัติ ในพระไตรปิฎกโดยเนื้อความทั้งสิ้น 1 และผู้เป็นพหูสูตในปฏิเวธ
เพราะแทงตลอดมรรค ผล วิชชาและอภิญญา 1.
ผู้มีอาคมอันมาแล้ว โดยการทรงจำไว้ได้ ชื่อว่า ผู้ทรงธรรม. ส่วน
ท่านผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมอันโอฬาร ชื่อว่า
ผู้มีคุณยิ่ง.
ท่านผู้มีปฏิภาณอันประกอบแล้ว ผู้มีปฏิภาณอันพ้นแล้ว และผู้มี
ปฏิภาณทั้งประกอบแล้วทั้งพ้นแล้ว ชื่อว่า ผู้มีปฏิภาณ.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบผู้มีปฏิภาณ 3พวก คือปริยัตติปฏิภาณ 1
ปริปุจฉาปฏิภาณ 1 อธิคมปฏิภาณ 1.
ผู้แจ่มแจ้งในปริยัติ ชื่อว่า ปริยัตติปฏิภาณ ผู้มีปฏิภาณในปริยัติ.
ผู้แจ่มแจ้งคำสอบถาม เมื่อเขาถามถึงอรรถ ไญยธรรม ลักษณะ
ฐานะ อฐานะ ชื่อว่า ปริปุจฉาปฏิภาณ ผู้มีปฏิภาณในการสอบถาม
ผู้แทงตลอดคุณวิเศษทั้งหลายมีมรรคเป็นต้น ชื่อว่า ปฏิเวธปฏิ-
ภาณ
ผู้มีปฏิภาณในปฏิเวธ.
บุคคลควรคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ผู้ทรงธรรม มีคุณยิ่ง มีปฏิภาณ
เห็นปานนั้น แค่นั้น ด้วยอานุภาพของมิตรนั้นได้รู้ประโยชน์มากมาย โดย

แยกเป็นประโยชน์คน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือ
โดยแยกเป็นประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์ภพหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง
แต่นั้น กำจัดความสงสัยทำความเคลือบแคลงให้หมดไป ในฐานะแห่ง
ความสงสัยมีอาทิว่า เราได้เป็นแล้วตลอดกาลในอดีตหรือหนอ เป็นผู้
กระทำกิจทุกอย่างสำเร็จแล้วอย่างนี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
จบคาถาที่ 4

คาถาที่ 5


25) ขิฑฺฑํ รตึ กามสุขญฺจ โลเก
อนลงฺกริตฺวา อนเปกฺขมาโน
วิภูสนฏฺฐานา วิรโต สจฺจวาที
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่พอใจการเล่น ความยินดี
และกามสุขในโลกแล้ว ไม่อาลัยอยู่ เว้นจากฐานะแห่ง
การประดับ มีปกติกล่าวคำสัตย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 5 ดังต่อไปนี้.
การเล่นและความยินดีได้กล่าวไว้แล้วในตอนก่อน. บทว่า กามสุขํ
คือ สุขในวัตถุกาม. จริงอยู่ แม้วัตถุกามท่านก็กล่าวว่าเป็นความสุข
โดยความเป็นวิสัยเป็นต้นของความสุข. เหมือนดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า รูป